ถ้าจะว่ากันถึงเรื่องตะคริว ผมรับประกันได้เลย ว่าคนกีฬาทุกประเภทคงไม่มีใครอยากเจอะเจอกับตะคริวเป็นแน่แท้ แต่ถ้าคุณเป็นคนเล่นกีฬาชนิดหนักหน่วง หรือเป็นพวกที่เล่นกีฬาต่อเนื่องยาวนาน แต่ขาดการพักผ่อนที่ดี และดูแลสุขภาพอย่างไม่ค่อยจะเหมาะสมนัก รับรองว่าต้องเคยเจอะเจอกับตะคริวกันเป็นแน่แท้ ไม่มากก็น้อย
เมื่อไม่นานมานี้ผมออกทริปปั่นจักรยานทางไกลกับน้องๆ อีกสองคน ระยะทางเกือบ 100 กิโลเมตร บนถนนที่ร้อนระอุ ด้วยความชะล่าใจทำให้คืนก่อนหน้านั้นผมพักผ่อนน้อย และในตอนเช้าก็ยังกินอาหารไม่เพียงพอที่ร่างกายจะใช้สำหรับทริปนี้ หลังจากที่ปั่นไปแล้วกว่า 60 กิโลเมตรในตอนเที่ยงตรง เจ้าตะคริวก็ออกฤทธิ์ ผมบอกเลยนะครับว่าตะคริวที่เกิดในขณะปั่นจักรยานทางไกล และจักรยานในเมืองนั้น น่ากลัวรองๆ จากตะคริวที่เกิดขึ้นขณะว่ายน้ำเลยทีเดียว ผมเองเคยเป็นตะคริวลักษณะนี้มาบ้างแล้วในวันที่ถนนร้อนจัดแต่โชคดีที่เป็นในจังหวะที่ใกล้ถึงจุดหมายปลายทาง ห่างกันไม่ถึง 500 เมตร แต่คราวนี้ระยะทางยังห่างจากจุดหมายกว่า 30 กิโลเมตร กลางทุ่งร้าง ในช่วงสงกรานต์ที่แทบจะไม่มีรถผ่าน แถมน้องในทีมก็มีธุระจำเป็นที่จะต้องรีบกลับให้ถึงจุดหมาย ก่อนจะฟังตอนจบว่าผมรอดมาได้อย่างไรเรามารู้จักกับเจ้าตะคริวกันก่อนดีกว่า
ตะคริว คือภาวะที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยไม่คลายตัวออกตามปกติ มักเกิดขึ้นตามกล้ามเนื้อแขนและขา แต่สำหรับจักรยานแล้วอาจจะเกิดได้หลายจุด เช่น ต้นขา แขน หลัง มือ หน้าท้อง เป็นต้น ปกติจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที แต่บางรายอาจรุนแรงและนาน บางรายเป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมาน ตะคริวมักเกิดกับนักปั่นทางไกล หรือพักผ่อนและทานอาหารไม่เพียงพอ รวมถึงผู้สูบบุหรี่จัดด้วย
สาเหตุ สั้นๆ 3 ข้อครับ
- เกิดจากการที่ระดับโซเดียมและโปรแตสเซียมในร่างกายลดต่ำลง
- ร่ายกายเจอการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน
- ร่างกายขาดน้ำหรือเสียเหงื่อมาก
ในกรณีของผู้ที่นอนน้อย หรือบริจาคโลหิตมาไม่เกิน 1 สัปดาห์ก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นตะคริวได้เช่นกันนะครับ (วันที่เป็นตะคริว ผมทั้งอดนอน และบริจาคเกล็ดเลือดมาก่อนวันปั่น 2 วัน)
การแก้ไขอาการ
ในกรณีของผม ผมเริ่มรู้สึกตึงขาตั้งแต่ก่อนจะถึงจุดที่เป็นตะคริวได้ระยะนึงแล้ว คิดว่าตัวเองมีสิทธิ์เป็นตะคริว จึงให้สัญญาณน้องในทีมจอดรถที่ร้านค้าเล็กๆ ตรงหน้า หลังจากโหลดสเกลือแร่เข้าไปแล้ว 1 ขวด กับน้ำอีก 1 ขวดเล็ก จริงๆ ผมควรนั่งพักประมาณ 30 นาที แต่ด้วยน้องในทีมมีธุระต้องไปสะสาง ผมจึงจำเป็นต้องปั่นต่อ หลังจากพักได้แค่ 10 นาทีเท่านั้น หลังจากก้มหน้าก้มตาปั่นต้านลม (เป็นหัวลากซะด้วย) ออกมาจากร้านค้าประมาณ 3 กิโลเมตร ผมก็เริ่มปวดที่ต้นขาด้านในบริเวณเหนือเข่า มันเป็นสัญญาณว่าผมกำลังจะเป็นตะคริว ผมให้สัญญาณน้องๆ เพื่อจอดรถ และรีบเครียตัว เพราะเมื่อเหยียดขาอาการตะคริวจะกลับมาทักล้ามเนื้อตัวเอง แต่อนิจจา ผมเหยียดขาไม่ได้ ต้องอยู่ในท่าย่อตลอด หลังจากตากแดดปฐมพยาบาลกันอยู่ 5 นาทีผมก็เริ่มเดินได้ และออกปั่นต่อ
ผมเป็นๆ หายๆ ปั่นๆ หยุดๆ อยู่ประมาณ 4 รอบ จนต้องขอมาอยู่ท้ายแถว จนกระทั่งหลุดจากกลุ่มและสุดท้ายร่างกายของผมก็ทนไม่ไหว เป็นตะคริวในระดับรุนแรงกล้ามเนื้อหยุดทำงานจนรถผมเกือบล้ม ผมยืนไม่ได้ นั่งก็ไม่ได้ ตะคริวมันลามไปทั่วต้นขา ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ผมต้องทำใจ โทรบอกน้องๆ ว่าไม่ต้องห่วง และไม่ฝืน นั่งพักเกือบ 2 ชั่วโมง ก่อนที่จะปั่นเบาๆ เพื่อพยุงตัวเองให้กลับถึงบ้าน
ผมถือว่าโชคดี ที่ไม่ไปเป็นตะคริวหนักๆ กลางทางคนเดียว หรือเกร็งจนรถเสียหลักล้มโดนรถชนซ้ำ ความประมาทโดยคิดว่าร่างกายตนเองยังไหว เป็นสิ่งที่นักปั่นทางไกลต้องพึงระวังให้มาก และเราควรคิดไว้เสมอว่าเราเป็นแค่มนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจักร มันมีขีดจำกัด และขีดจำกัดของเราในแต่ละวันมันย่อมไม่เท่ากัน
ขอให้นักปั่นทุกท่านโชคดีครับ by หมอหลังอาน
- การยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวช่วยบรรเทาอาการได้ ส่วนจะยืดยังไงก็ต้องแล้วแต่ส่วนที่เกิดอาการครับ ใครเป็นจะรู้เองว่าจะต้องทำยังไง มันอยู่ไม่ได้หรอก
- ทายา หรือนวดคลึงเบาๆ
- ระคบด้วยน้ำอุ่น
การป้องกัน
- ควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนการปั่น
- ถ้าปั่นไกลๆ ควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอ
- ไม่ควรปั่นอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ
- การฝึกการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิฉับพลัน (อันนี้ท่าจะยาก)
- บางคนใช้อาหารเสริมประเภทเพาเวอร์บาร์ หรือเพาเวอร์เจลซึ่งเป็นอาหารที่ร่างกายจะดูดซึมเร็วมาก มีหลายสูตรครับ
ในกรณีของผม ผมเริ่มรู้สึกตึงขาตั้งแต่ก่อนจะถึงจุดที่เป็นตะคริวได้ระยะนึงแล้ว คิดว่าตัวเองมีสิทธิ์เป็นตะคริว จึงให้สัญญาณน้องในทีมจอดรถที่ร้านค้าเล็กๆ ตรงหน้า หลังจากโหลดสเกลือแร่เข้าไปแล้ว 1 ขวด กับน้ำอีก 1 ขวดเล็ก จริงๆ ผมควรนั่งพักประมาณ 30 นาที แต่ด้วยน้องในทีมมีธุระต้องไปสะสาง ผมจึงจำเป็นต้องปั่นต่อ หลังจากพักได้แค่ 10 นาทีเท่านั้น หลังจากก้มหน้าก้มตาปั่นต้านลม (เป็นหัวลากซะด้วย) ออกมาจากร้านค้าประมาณ 3 กิโลเมตร ผมก็เริ่มปวดที่ต้นขาด้านในบริเวณเหนือเข่า มันเป็นสัญญาณว่าผมกำลังจะเป็นตะคริว ผมให้สัญญาณน้องๆ เพื่อจอดรถ และรีบเครียตัว เพราะเมื่อเหยียดขาอาการตะคริวจะกลับมาทักล้ามเนื้อตัวเอง แต่อนิจจา ผมเหยียดขาไม่ได้ ต้องอยู่ในท่าย่อตลอด หลังจากตากแดดปฐมพยาบาลกันอยู่ 5 นาทีผมก็เริ่มเดินได้ และออกปั่นต่อ
ผมเป็นๆ หายๆ ปั่นๆ หยุดๆ อยู่ประมาณ 4 รอบ จนต้องขอมาอยู่ท้ายแถว จนกระทั่งหลุดจากกลุ่มและสุดท้ายร่างกายของผมก็ทนไม่ไหว เป็นตะคริวในระดับรุนแรงกล้ามเนื้อหยุดทำงานจนรถผมเกือบล้ม ผมยืนไม่ได้ นั่งก็ไม่ได้ ตะคริวมันลามไปทั่วต้นขา ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ผมต้องทำใจ โทรบอกน้องๆ ว่าไม่ต้องห่วง และไม่ฝืน นั่งพักเกือบ 2 ชั่วโมง ก่อนที่จะปั่นเบาๆ เพื่อพยุงตัวเองให้กลับถึงบ้าน
ผมถือว่าโชคดี ที่ไม่ไปเป็นตะคริวหนักๆ กลางทางคนเดียว หรือเกร็งจนรถเสียหลักล้มโดนรถชนซ้ำ ความประมาทโดยคิดว่าร่างกายตนเองยังไหว เป็นสิ่งที่นักปั่นทางไกลต้องพึงระวังให้มาก และเราควรคิดไว้เสมอว่าเราเป็นแค่มนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจักร มันมีขีดจำกัด และขีดจำกัดของเราในแต่ละวันมันย่อมไม่เท่ากัน
ขอให้นักปั่นทุกท่านโชคดีครับ by หมอหลังอาน
No comments:
Post a Comment